Last updated: 22 ต.ค. 2566 | 3233 จำนวนผู้เข้าชม |
พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตกจริงหรือ
ถ้าจะพูดว่า พระอาทิตย์ขึ้น ทิศตะวันออก และ ตกทางทิศตะวันตก ก็ไม่ผิด แต่ถ้าพูดแค่นี้ก็ยังได้ไม่ดีพอสำหรับการที่จะใช้ติดตั้ง ระบบโซล่าร์รูฟท็อป เพราะพระอาทิตย์จริงๆนั้น ขึ้นทางทิศตะวันออก และ ในระหว่างวันพระอาทิตย์จะอ้อมไปทางทิศใต้ ตามรูปด้านบน แล้วจึงไปลับขอบฟ้า ในทางทิศตะวันตก ดังนั้น ทิศ และ มุมองศา ที่จะติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์จึงมีความสำคัญ กรณีหลังคาของบ้านที่จะติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ไม่ได้หันไปทางทิศที่ควรจะเป็น จะทำอย่างไร ปัญหานี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ของ อีฟ ไลท์ติ้ง จะช่วยคำนวณให้ เพื่อให้ได้ ทิศและมุม ที่ดีที่สุด โดย มุมและทิศ ในแต่ละสถานที่จะไม่เหมือนกัน ยิ่งถ้ามองเป็นภูมิภาคก็ยิ่งมีความแตกต่างกัน แต่เรื่องยุ่งยากทั้งหลายนี้ ให้ ทีมวิศวกร ของอีฟ ไลท์ติ้ง เป็นผู้ช่วยคำนวณให้
ภูมิประเทศของเมืองไทย เหมาะสมกับการใช้โซล่าร์รูฟกว่าประเทศอื่นอีกหลายๆประเทศ
การติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ เนื่องด้วยภูมิศาสตร์ประเทศไทยตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร โดยสามารถรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้มากกว่า 100 กิโลวัตต์ ต่อตารางเมตร ซึ่งถือว่าดีมากที่จะติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด จึงควรคำนึงถึงทิศทางการติดตั้ง องศาที่ทำมุมกับแสงอาทิตย์ ยกตัวอย่าง ในกรุงเทพมหานครการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ ที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดจะติดตั้งโดยทำมุม 10-15 องศา และหันแผงไปทางทิศใต้ เพื่อให้ได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้ได้มากที่สุดตลอดทั้งวันเนื่องจากเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก จะคล้อยลงมาทางใต้และลงทางทิศตะวันตก สภาพแวดล้อมโดยรอบมีผลกระทบกับการผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าร์เซลล์ เราต้องหลีกเลี่ยงเงาของวัตถุที่จะมาบดบังแสงอาทิตย์ที่ส่องมายังแผงโซล่าร์เซลล์ เช่น ต้นไม้ อาคารบ้านเรือนโดยรอบ หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ เนื่องจากเงาของสิ่งเหล่านี้จะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าต่ำลง ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางและองศา ในการวางแผงโซล่าร์เซลล์ ให้เหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญผ่านโปรแกรมการคำนวณ จึงจะให้ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสูงสุด
ให้แน่ใจว่า มีการคำนวณให้เห็น ก่อนตัดสินใจซื้อ
การติดแผงโซล่าร์เซลล์ผิดทิศ ผิดมุม ในระยะยาว ยิ่งถ้าพูดถึง 25 ปี อาจสูญเสียโอกาสในการผลิตไฟฟ้าจำนวนมาก อาจเป็นหลักหลายล้านบาทเลยก็ได้สำหรับระบบใหญ่ๆ การคำนวณที่ถูกต้องจะช่วยป้องกันสิ่งเหล่านี้ได้
อุปกรณ์จับยึดแผงโซล่าร์เซลล์ก็สำคัญ เพราะต้องอยู่ให้ได้ 25 ปี
อุปกรณ์จับยึดแผงโซล่าร์เซลล์ (Mounting) เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพราะอาคารบ้านเรือนก็ใช้วัสดุมุงหลังคาที่หลากหลายประเภทตามความชอบของเจ้าของบ้าน อุปกรณ์จับยึดแผงโซล่าร์เซลล์ของอีฟได้ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับหลังคาแต่ละประเภท อาทิเช่น กระเบื้องซีแพค กระเบื้องลอนคู่ เมทัลชีท พื้นปูน แผ่นชิงเกิ้ลรูฟ เป็นต้น จึงมั่นใจได้ว่าหลังคาบ้านและอาคารเมื่อติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ไปแล้ว จะมีความแข็งแรงคงทนทาน ปราศจากการรั่วซึม ไปตลอดอายุการใช้งาน วัสดุจับยึดของอีฟผลิตจากอลูมิเนียม AL6005-T5 และ สแตนเลสSUS304 ชุบเคลือบสารอโนไดซ์ที่ความหนา 10 ไมครอน ภายใต้มาตราฐานสากล AS/NZS1170.2, SGS
29 ก.พ. 2563
7 มี.ค. 2563
26 ส.ค. 2563
7 มี.ค. 2563